คำถามที่พบบ่อย
-
ทำไมการลงทุนในพันธบัตรรุ่นนี้จึงน่าสนใจ หากเทียบกับการฝากเงินแบบประจำ
กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกพันธบัตร โดยมอบหมายให้ ธปท. เป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตร จึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในขณะที่ออกจำหน่ายโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้น
-
ข้อดีของการเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) คืออะไร
จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม.
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องมีภาระในการเก็บรักษาใบพันธบัตร และเมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรโดยโอนเงินเข้าวอลเล็ต สบม. ของผู้ถือกรรมสิทธิ์จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องมีภาระในการเก็บรักษาใบพันธบัตร และเมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ หรือผู้รับหลักประกันตามที่ตกลงกัน หรือผู้รับตามที่ ธปท. กำหนด โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์นำสมุดบัญชีเงินฝากและ Bond Book ไปปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ที่ธนาคารที่ทำรายการซื้อ -
สนใจซื้อพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ต้องทำอย่างไร
จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม.
ผู้สนใจจะต้องลงทะเบียนผ่านวอลเล็ต สบม. ก่อน จึงจะสามารถซื้อพันธบัตรผ่านวอลเล็ต สบม. ได้ โดยจะได้รับหลักฐานการทำรายการตามรูปแบบที่วอลเล็ตกำหนดจำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย
ผู้สนใจสามารถเลือกวิธีการจองซื้อพันธบัตรวิธีใดวิธีหนึ่งได้จาก 2 ช่องทาง ดังนี้
1. การจองซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการตามข้อ 2 และลงทะเบียนเพื่อเปิดใช้บริการระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application โดยผู้ซื้อจะได้รับความสะดวกในการจองซื้อและสามารถจองซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ กรณีทำรายการจองซื้อผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ผู้จองซื้อที่ไม่เคยลงทะเบียนพันธบัตรต้องติดต่อสาขาเพื่อขอลงทะเบียนพันธบัตรก่อนทำรายการจองซื้อ กรณีทำรายการจองซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพสามารถลงทะเบียนพันธบัตรผ่านสาขาและ Mobile Application ของธนาคาร และกรณีทำรายการจองซื้อผ่านธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทยไม่ต้องลงทะเบียนพันธบัตร
2. การจองซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้จองซื้อจะต้องลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์กับธนาคาร (การจองซื้อผ่านธนาคารกรุงเทพสามารถลงทะเบียนพันธบัตรผ่านสาขาหรือ Mobile Application ได้ และการจองซื้อผ่านธนาคารไทยพาณิชย์สามารถลงทะเบียนพันธบัตรผ่านสาขา) และทำรายการจองซื้อพันธบัตรรุ่นอายุ 5ปี (SB293B) และรุ่นอายุ 10 ปี (SB343B) ได้ตั้งแต่วันที่ 11 - 13 มีนาคม 2567 ส่วนพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี (SB343C) ทำรายการซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 18 – 19 มีนาคม 2567 หรือจนถึงวันที่จำหน่ายได้ครบวงเงินโดยผู้ซื้อสามารถดาวน์โหลดใบจองซื้อได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (http://www.pdmo.go.th/th/bond-channels)
-
คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมหากอีกฝ่ายต้องการจองซื้อพันธบัตรรุ่นนี้หรือไม่
ไม่ต้องให้ความยินยอม
-
การโอนเปลี่ยนมือระหว่างธนาคารทำได้หรือไม่
จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย
การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) สามารถกระทำได้ โดยอาจเป็นการโอนให้กับลูกค้ารายใหม่หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำ Bond Book ไปติดต่อธนาคารที่ได้ฝากพันธบัตรไว้ -
ความเสี่ยงของการถือพันธบัตรรุ่นนี้มีอะไรบ้าง
จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม.
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรไม่มีความเสี่ยงจากการสูญเงินต้น แต่อาจมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในพันธบัตรอาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรจะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตร ตลอดอายุพันธบัตร
ในกรณีที่นำพันธบัตรไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เท่ากับ 1 บาทต่อหน่วยตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้น ๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนถือพันธบัตรจนถึงวันครบกำหนดแล้ว จะได้รับคืนเงินต้นเต็มจำนวนเสมอท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ website ต่าง ๆ ดังนี้
www.bot.or.th/th/our-services/bond-and-debt-securities-services.html
http://www.thaibma.or.thจำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย
ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรไม่มีความเสี่ยงจากการสูญเงินต้น แต่อาจมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในพันธบัตรอาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตร ตลอดอายุพันธบัตร
ในกรณีที่นำพันธบัตรไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เท่ากับ 1,000 บาทต่อหน่วยตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้น ๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนถือพันธบัตรจนถึงวันครบกำหนดแล้ว จะได้รับคืนเงินต้นเต็มจำนวนเสมอ -
การโอนพันธบัตรให้แก่ทายาท ในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรถึงแก่กรรม
จำหน่ายบนวอลเล็ต สบม.
ผู้จัดการมรดกติดต่อยื่นขอจัดการมรดกที่ธนาคาร
จำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย
กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)
ผู้จัดการมรดกติดต่อยื่นขอจัดการมรดกที่ธนาคารตัวแทนจำหน่ายกรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip)
ผู้จัดการมรดกติดต่อ ธปท. โดยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ถึงแก่กรรม ตามระเบียบที่ ธปท. กำหนด -
ข้อดีของการจัดสรรพันธบัตรด้วยวิธี Small Lot First
การจัดสรรพันธบัตรโดยใช้วิธีการ Small Lot First เป็นการจัดสรรพันธบัตรให้กับ “ทุกคน” ที่จองซื้อเข้ามา โดยผู้ที่ส่งรายการจองซื้อในวงเงินไม่มาก (หรือ small lot ซึ่งมักเป็นนักลงทุนรายย่อย) จะมีโอกาส “สูง” ที่จะได้รับการจัดสรรพันธบัตรครบตามวงเงินที่จองซื้อเข้ามา ขณะที่ผู้ที่ส่งรายการจองซื้อในวงเงินจำนวนมาก จะมีโอกาส “น้อยลง” ที่จะได้รับจัดสรรพันธบัตรครบตามจำนวนที่ต้องการ
-
การจำหน่ายพันธบัตรด้วยวิธี Small Lot First ไม่มีการจำกัดวงเงินขั้นสูงในการจองซื้อพันธบัตร จะส่งผลให้นักลงทุนรายย่อยได้รับจัดสรรพันธบัตรลดลงหรือไม่
การจัดสรรพันธบัตรโดยใช้วิธีการ Small Lot First เป็นการทยอยจัดสรรพันธบัตรเป็นรอบๆ เวียนจนครบผู้ซื้อทุกราย โดยจัดสรรขั้นต่ำ 1,000 บาท และทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท ดังนั้น ผู้จองซื้อทุกราย จะได้รับการจัดสรรพันธบัตร โดยนักลงทุนรายย่อยซึ่งจองซื้อในวงเงินไม่มาก จะมีโอกาสได้รับการจัดสรรพันธบัตรได้ครบตามวงเงินที่จองซื้อตั้งแต่ในรอบการจัดสรรช่วงแรกๆ โดยนักลงทุนที่ทำรายการจองซื้อด้วยวงเงินที่สูงกว่าจะได้รับการจัดสรรพันธบัตรเพิ่มขึ้นในรอบถัดๆ ไป (ทวีคูณครั้งละ 1,000 บาท) จนครบวงเงินจำหน่าย
ในกรณีที่วงเงินพันธบัตรที่จะจัดสรรในรอบสุดท้ายไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้ผู้จองซื้อทุกราย จะใช้วิธีการสุ่ม (Random) โดยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดสรรพันธบัตรในรอบสุดท้ายให้แก่ผู้จองซื้อจนครบวงเงินจำหน่าย โดยผู้ได้รับการจัดสรรโดยวิธีการสุ่ม (Random) จะได้รับการจัดสรรพันธบัตรเพิ่มขึ้น จากเดิมจำนวน 1,000 บาท
-
การซื้อพันธบัตรบนวอลเล็ต สบม. จะเปลี่ยนพันธบัตรจากแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ให้เป็นแบบมีใบตราสาร (Scrip) ทำได้หรือไม่
ไม่สามารถทำได้
-
เงินต้นของพันธบัตรออมทรัพย์แบบใบตราสารจะถูกจ่ายให้ใครเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
เงินต้นจะถูกจ่ายให้กับผู้ที่มีรายชื่อตามรายชื่อทางทะเบียนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทำการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท.ประกาศกำหนดผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องนำใบตราสารมาเวนคืน เว้นแต่ กรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีข้อสงสัย ธปท. อาจขอเวนคืนใบตราสารเพื่อตรวจสอบก็ได้ อาทิเช่น การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน เป็นต้น